วิชา ทัศนศิลป์ 1 รหัสวิชา ศ.32101

piriya lipirujira (คุณครุสมศักดิ์ ล่าดี้)

คำอภิธานศัพท์ศิลปะ

google          youtube           พสว           สพม11

ศิลปะ คือ  ผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ในทุกด้าน  ทั้งการกระทำ  การพูด  การเขียน  และเกิดผลในทางสร้างสรรค์ที่ดีงาม  เหมาะสมกับกาลเทศะ   มนุษย์ทุกคนมีความสามารถทางด้านศิลปะอยู่ในตัวเองและต้องเกี่ยวข้องกับการนำศิลปะไปใช้กับชีวิตประจำวันตลอดเวลา

ธรรมชาติ หมายถึงสิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมดาของสิ่งนั้นๆ,สิ่ง ที่เป็นไปเองโดยมิได้ปรุงแต่ง

สัมผัส หมายถึง การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึกโดยผ่านการรับรู้ ทางตา หู จมูก ปาก กาย

การรับรู้ คือการที่อวัยวะสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมแล้วสามารถแปลความหมายของการสัมผัสได้
ซึ่งการแปลความหมายนี้จำเป็นจะต้องอาศัยประสบการณ์เดิม ที่มีมาก่อน

แรงบันดาลใจ คือ สิ่งที่กระตุ้นให้เราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

 จินตนาการ ( Imagination ) คือการสร้างภาพขึ้นในจิตใจ จินตนาการเกิดจากการสั่งสมจาก การรับรู้ทั้งมวล

โครงสร้างเคลื่อนไหว (mobile)เป็นงานประติมากรรมที่มีโครงสร้างบอบบางจัดสมดุลด้วยเส้นลวดแข็งบางๆที่มีวัตถุรูปร่าง รูปทรงต่าง ๆที่ออกแบบเชื่อมติดกับเส้นลวด เป็นเครื่องแขวนที่เคลื่อนไหวได้ด้วยกระแสลมเพียงเบา ๆงานสื่อผสม (mixed media) เป็นงานออกแบบทางทัศนศิลป์ที่ประกอบด้วยหลายสื่อโดยใช้วัสดุหลาย ๆ แบบ เช่น กระดาษ ไม้ โลหะ สร้างความผสมกลมกลืนด้วยการสร้างสรรค์

จังหวะ (rhythm)   เป็นความสัมพันธ์ของทัศนธาตุ เช่น เส้น สี รูปร่าง รูปทรง น้ำหนักในลักษณะของการซ้ำกัน สลับไปมา หรือลักษณะลื่นไหล เคลื่อนไหวไม่ขาดระยะจังหวะที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันจะช่วยเน้นให้เกิดความเด่นหรือทางดนตรี ก็คือการซ้ำกันของเสียงในช่วงเท่ากันหรือแตกต่างกันจังหวะให้ความรู้สึกหรือความพอใจทางสุนทรียภาพในงานศิลปะ

ทัศนธาตุ (visual  elements) สิ่งที่เป็นปัจจัยของการมองเห็นเป็นส่วนต่าง ๆ  ที่ประกอบกันเป็นภาพ  ได้แก่  เส้น  น้ำหนัก  ที่ว่าง  รูปร่าง   รูปทรง  สี  และลักษณะพื้นผิว

ทัศนียภาพ (perspective)   วิธีเขียนภาพของวัตถุให้มองเห็นว่ามีระยะใกล้ไกล

ทัศนศิลป์ (visual  art) ศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการเห็นได้แก่จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และงานสร้างสรรค์อื่นๆที่รับรู้ด้วยการเห็น

ภาพปะติด (collage) เป็นภาพที่ทำขึ้นด้วยการใช้วัสดุต่างๆเช่น กระดาษ ผ้า เศษวัสดุธรรมชาติ ฯลฯปะติดลงบนแผ่นภาพด้วยกาวหรือแป้งเปียก

วงจรสีธรรมชาติ (color circle) คือวงกลมซึ่งจัดระบบสีในแสงสีรุ้งที่เรียงกันอยู่ในธรรมชาติ สีวรรณะอุ่น จะอยู่ในซีกที่มีสีแดงและเหลือง ส่วนสีวรรณะเย็นอยู่ในซีกที่มีสีเขียว และสีม่วง สีคู่ตรงข้ามกันจะอยู่ตรงกันข้ามในวงสี

วรรณะสี (tone) ลักษณะของสีที่แบ่งตามความรู้สึกอุ่นหรือเย็นเช่นสีแดง อยู่ในวรรณะร้อน (warm tone)สีเขียวอยู่ในวรรณะเย็น (cool tone)
 
สีคู่ตรงข้าม (complementary colors) สีที่อยู่ตรงกันข้ามกันในวงสีธรรมชาติเป็นคู่สีกัน  คือ สีคู่ที่ตัดกันหรือต่างจากกันมากที่สุด  เช่น  สีแดงกับสีเขียว สีเหลืองกับสีม่วง   สีน้ำเงินกับสีส้ม

« หน่วยที่ 2 คำอภิธานศัพท์ศิลปะ


ใส่ความเห็น